ระวังให้ดี! ไม่ยื่นภาษี โดนโทษอะไรบ้าง?

การยื่นภาษีเป็นหน้าที่สำคัญของทุกคนที่มีรายได้ แต่หลายคนอาจมองข้ามความสำคัญของการทำหน้าที่นี้ไป วันนี้บัตรกดเงินสดยูเมะพลัสจะพาไปดูกันว่า ทำไมเราต้องยื่นภาษี และหากไม่ยื่นภาษีจะโดนโทษอะไรบ้าง รวมไปถึงอัปเดตข้อมูลล่าสุดในการยื่นภาษีบุคคลธรรมดากัน

ทำไมเราต้องยื่นภาษี?

เพราะการยื่นภาษีเป็นหน้าที่ตามกฎหมายและมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ เงินภาษีที่เราจ่ายไปนั้นจะถูกนำไปใช้ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การศึกษา สาธารณสุข และบริการสาธารณะอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม

รายได้เท่านี้ต้องยื่นภาษีเท่าไหร่?

โดยทั่วไป บุคคลธรรมดาที่มีเงินได้สุทธิตั้งแต่ 150,000 บาทต่อปีขึ้นไป มีหน้าที่ต้องเสียภาษีแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา อย่างไรก็ตาม อัตราภาษีที่ต้องจ่ายจริงจะขึ้นอยู่กับระดับรายได้และค่าลดหย่อนต่าง ๆ ที่สามารถนำมาหักได้

เงินได้สุทธิ (บาท) อัตราภาษี (%)
150,000 ได้รับการยกเว้น
150,001 – 300,000 5%
300,001 – 500,000 10%
500,001 – 750,000 15%
750,001 – 1,000,000 20%
1,000,001 – 2,000,000 25%
2,000,001 – 5,000,000 30%
5,000,000 บาทขึ้นไป 35%

จะเป็นอย่างไร ถ้าไม่ยื่นภาษี?

หากไม่ยื่นภาษี ไม่ชำระในเวลาที่กำหนดเวลา หรือชำระไม่ถูกต้องจะมีเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามกฎหมายกำหนด และหากฝ่าฝืนไม่ยอมชำระ ก็จะได้รับโทษทางอาญาด้วย ขึ้นอยู่กับว่าความผิดร้ายแรงขั้นไหน ซึ่งมีบทลงโทษ ดังนี้

1.บุคคลธรรมดาที่ไม่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ภายในวันที่ 31 มีนาคม ของทุกปี หรือยื่นแบบฯ เกินกำหนดเวลา

  • ต้องระวางโทษค่าปรับไม่เกิน 2,000 บาท ตามมาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากร แต่สามารถขอลดค่าปรับได้

2.ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 /91 ผ่านอินเทอร์เน็ต กรณีมีเงินภาษีต้องชำระ 

  • หากท่านมิได้ชำระเงินภาษีภายในวันที่ 31 มีนาคม ของทุกปี ถือว่ามิได้ยื่นแบบ ท่านต้องไปยื่นแบบ ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา และชำระเงินภาษี พร้อมเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ รวมทั้งค่าปรับตามข้อ 1

3.ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 เกินกำหนดเวลา 

  • 3.1 กรณีมีเงินภาษีต้องชำระ ให้ชำระเงินภาษีพร้อมเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ รวมทั้งค่าปรับตามข้อ 1
  • 3.2 กรณีไม่มีเงินภาษีต้องชำระ ให้ชำระค่าปรับตามข้อ 1 เพียงอย่างเดียว

4.ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 เพิ่มเติมภายหลังกำหนดเวลาการยื่นแบบ 

  • 4.1 กรณีมีเงินภาษีต้องชำระ ให้ชำระเงินภาษีพร้อมเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ โดยไม่ต้องเสียค่าปรับ
  • 4.2 กรณีไม่มีเงินภาษีต้องชำระ ไม่ต้องเสียเงินเพิ่มและค่าปรับ

5.ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ขอผ่อนชำระเงินภาษี 

  • หากท่านมิได้ชำระภาษีงวดใดงวดหนึ่งภายในกำหนดเวลา จะหมดสิทธิ์การผ่อนชำระและต้องชำระภาษีอากรที่ค้างอยู่ทั้งหมด โดยต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของเงินภาษีงวดที่เหลือ

6.ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 มีภาษีชำระไว้เกิน แต่ไม่ได้แจ้งความประสงค์ขอคืนเงิน ไม่ว่าจะเป็นการยื่นแบบฯ ผ่านอินเทอร์เน็ต หรือยื่นแบบฯ ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา

  • ให้ท่านยื่นคำร้องขอคืนเงินตามแบบ ค.10 ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ท้องที่ที่มีภูมิลำเนาอยู่ ภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษี โดยแนบเอกสารแล้วแต่กรณี ดังนี้
    • 6.1 หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย
    • 6.2 แบบ ล.ย.03 (ถ้ามี)
    • 6.3 ใบเสร็จรับเงินหรือหนังสือรับรองค่าเบี้ยประกันสุขภาพบิดา/มารดา (ถ้ามี)
    • 6.4 ใบเสร็จรับเงินหรือหนังสือรับรองค่าเบี้ยประกันชีวิตของปีภาษีที่ขอคืน (ถ้ามี)
    • 6.5 หนังสือรับรองการจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพของปีภาษีที่ขอคืน (ถ้ามี)
    • 6.6 ใบเสร็จรับเงินหรือหนังสือรับรองค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ/กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (ถ้ามี)
    • 6.7 หนังสือรับรองการชำระดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารอยู่อาศัยของปีภาษีที่ขอคืน (ถ้ามี)
    • 6.8 หนังสือรับรองการจ่ายเงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม (ถ้ามี)
    • 6.9 ใบเสร็จรับเงินบริจาคการกุศลของปีภาษีที่ขอคืน (ถ้ามี)
    • 6.10 สำเนาทะเบียนบ้าน
    • 6.11 ใบสำคัญการสมรส (ถ้ามี)
    • 6.12 หนังสือแสดงการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล (ถ้ามี)
    • 6.13 ใบเสร็จรับเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
    • 6.14 หลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องกับประเด็นขอคืน

7.กรณีรับคืนเงินภาษีอากรเกินไปและได้รับหนังสือทวงถามให้นำเงินไปคืน

  • ให้ผู้ขอคืนนำเงินไปคืนภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือทวงถาม หากผู้ขอคืนไม่นำส่งเงินคืนที่ได้รับเกินไปภายในกำหนดเวลา ต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามมาตรา 224 แห่งประมวลแพ่งและพาณิชย์ โดยนับตั้งแต่วันที่เริ่มผิดนัด

8.กรณีเจ้าพนักงานตรวจสอบออกหมายเรียก และปรากฏว่ามิได้ยื่นแบบแสดงรายการไว้หรือยื่นแบบแสดงรายการไว้แต่ชำระภาษีขาดหรือต่ำไป 

  • นอกจากจะต้องรับผิดชำระเงินเพิ่มแล้ว ยังจะต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับอีก 1 เท่าหรือ 2 เท่าของภาษีที่ต้องชำระแล้วแต่กรณี เงินเบี้ยปรับดังกล่าวอาจลดหรืองดได้ตามระเบียบที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี

9.กรณีจงใจแจ้งข้อความเท็จ หรือแสดงหลักฐานเท็จ หรือฉ้อโกง เพื่อหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร 

  • มีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือน – 7 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 – 200,000 บาท

10.กรณีเจตนาละเลยไม่ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร 

  • มีโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

ที่มาข้อมูล : https://www.rd.go.th/37392.html, https://www.rd.go.th/562.html

 

ไม่อยากเสี่ยงรับโทษ ต้องทำอย่างไร?

  1. การยื่นภาษีทุกปีเป็นสิ่งสำคัญที่สุด คุณควรตรวจสอบกำหนดการยื่นภาษีและดำเนินการเสียภาษีให้ทันเวลา
  2. ติดตามข้อมูลเกี่ยวกับการลดหย่อนภาษีในทุก ๆ ปี เพื่อให้แน่ใจว่าคุณได้ใช้สิทธิ์ที่มีอย่างเต็มที่ ซึ่งอาจช่วยลดภาระภาษีของคุณได้
  3. ติดตามข่าวเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงกฎหมายภาษีและข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากกรมสรรพากร เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสที่สามารถช่วยลดภาษีที่ต้องชำระ

 

ขอคืนเงินภาษีทำอย่างไร?

กรมสรรพากรจะคืนเงินภาษีผ่านระบบโอนเงินแบบพร้อมเพย์ที่ผูกบัญชีธนาคารด้วยเลขประจำตัวประชาชนเท่านั้น

 

การยื่นภาษีตรงเวลาและเสียภาษีอย่างถูกต้อง ไม่เพียงแต่จะช่วยให้คุณหลีกเลี่ยงบทลงโทษ แต่ยังเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมอีกด้วย ซึ่งการทำหน้าที่นี้ไม่เพียงแต่จะช่วยสนับสนุนโครงการต่าง ๆ ของรัฐ แต่ยังส่งผลดีต่อการพัฒนาสังคมในระยะยาว

บัตรกดเงินสดยูเมะพลัส พร้อมสนับสนุนให้บุคคลที่มีรายได้เสียภาษีอย่างถูกต้อง และให้คุณเข้าถึงเงินสดได้อย่างรวดเร็ว สะดวก และสามารถจัดการค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมมั่นใจได้ว่าคุณจะจัดการเงินของตนเองได้อย่างถูกต้องและตรงเวลา

สำหรับท่านใดที่สนใจ สามารถสมัครบัตรกดเงินสดยูเมะพลัสได้ผ่านช่องทางออนไลน์ที่  https://www.umayplus.com/cashcard/applyform หรือติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-695-0000

 

หมายเหตุ:

*อัตราดอกเบี้ย 19.8% – 25% ต่อปี, ดูเงื่อนไขได้ที่เว็บไซต์ยูเมะพลัส, กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว